White Cat

data for computer project : lgbtq


LGBTQ นั้นเป็นคำศัพท์แรกที่ถูกใช้กันมาตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 1990s (ก่อนที่ต่อมาจะมีการเพิ่มตัวอักษรไปตามความลื่นไหลทางเพศของยุคสมัยที่เพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการให้เกียรติต่อทุกเพศวิถี และเพศสภาวะอย่างเท่าเทียม) ซึ่งถูกใช้เรียกแทนกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ หมายรวมไปถึงความหลากหลายในมิติของเพศวิถี และเพศสภาวะด้วย ครั้งนี้จึงได้รวบรวมความหมายของคำศักพท์พื้นฐานควรรู้มาให้ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย ได้ทำความรู้จักกัน

     (L) ย่อมาจาก Lesbian หมายถึง กลุ่มคนหญิงรักหญิง หรือบุคคลที่มีแรงดึงดูดทางความสัมพันธ์ และแรงดึงดูดทางเพศระหว่างผู้หญิงกับผู้หญิงด้วยกัน

     (G) ย่อมาจาก Gay หรือ Gay man หมายถึง กลุ่มคนชายรักชาย หรือบุคคลที่มีแรงดึงดูดทางความสัมพันธ์ และแรงดึงดูดทางเพศระหว่างผู้ชายกับผู้ชายกระนั้นคำว่า “เกย์” ยังถูกใช้ทั่วไปในการเรียกแทนกลุ่มคนรักเพศเดียวกันโดยไม่แบ่งเพศหญิง-ชายในบางครั้งอีกด้วย

     (B) ย่อมาจาก Bisexual หมายถึง บุคคลที่มีแรงดึงดูดทั้งด้านความสัมพันธ์ และแรงดึงดูดทางเพศกับทั้ง 2 เพศ ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย นั่นคือทั้งบุคคลเพศเดียวกัน และเพศตรงข้าม

     (T) ย่อมาจาก Transgender หมายถึง บุคคลที่ระบุว่าเป็นเพศที่แตกต่างจากเพศกำเนิดนั่นคือหากเพศกำเนิดเป็นผู้ชายก็จะระบุว่าตนเป็นผู้หญิง หรือในทางกลับกันส่วนมากแล้วจะได้รับการระบุตัวตนจากกลุ่มบุคคลที่เปลี่ยนผ่านเพียงรูปลักษณ์ภายนอกไปในทางตรงข้ามกับเพศกำเนิดเท่านั้น แต่ยังไม่ได้มีการผ่าตัดแปลงเพศ ต่างกับ Transexual ที่จะถูกระบุตัวตนในกลุ่มบุคคลที่มีการผ่าตัดแปลงเพศ และเปลี่ยนผ่านด้านชีววิทยาของร่่างกายแล้วนั่นเอง

     (Q) ย่อมาจาก Queer หรือ Questioning สำหรับคำว่า Queer หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีแรงดึงดูดทั้งในเชิงความสัมพันธ์ และทางเพศกับบุคคลใดก็ได้ไม่จำกัดว่าคนนั้นต้องเป็นเพศใด ส่วนคำว่า Questioning หมายถึง บุคคลที่ยังสงสัย และตั้งคำถามเกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางเพศ หรือเพศวิถีของตัวเองเป็นช่วงเวลาที่ยังค้นหาตัวเองอยู่ว่าเป็นเพศอะไร

ไม่เพียงเท่านั้น เพราะยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง และการยอมรับความหลากหลายทางเพศที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง นำมาซึ่งการค้นหาอัตลักษณ์ในตัวตนของแต่ละบุคคลที่มาก และกว้างขวางขึ้น ทำให้ในปัจจุบันนี้ ไม่ได้มีเพียงอักษรย่อ 5 ตัวนี้เท่านั้น หากยังเพิ่มขึ้นอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น

     (I) ย่อมาจาก Intersex ซึ่งโดยหลักแล้วหมายถึงบุคคลที่มีอวัยวะเพศสองเพศ หรือมีอวัยวะเพศไม่ชัดเจนที่จะระบุได้ว่าเป็นเพศใดแต่กำเนิด อีกทั้งคำศัพท์นี้ยังรวมไปถึงบุคคลที่มี ฮอร์โมน หรือโครโมโซม ไม่ตรงกับเพศกำเนิดเช่น เพศหญิงที่มีโครโมโซมแฝงเป็น XY อยู่ด้วย เป็นต้น

     (A) ย่อมาจาก Asexual หมายถึง บุคคลที่ไม่มีแรงดึงดูดทางเพศต่อใคร หรือไม่นิยมในการมีเพศสัมพันธุ์กับผู้อื่น นอกจากนี้ยังหมายถึง Agender นั่นคือบุคคลที่ไม่นิยมระบุอัตลักษณ์ทางเพศของตนเอง หรือระบุว่าตนเองไม่มีอัตลักษณ์ทางเพศ และรวมไปถึง Androgyne คำคุ้นหูของคนแฟชั่น ที่หมายถึงบุคคลที่มีความเป็นผู้หญิง และความเป็นผู้ชายรวมอยู่ในคนเดียวกัน และไม่แสดงออกตามบรรทัดฐานทางเพศที่สังคมกำหนด

     (N) ย่อมาจาก Non-Binary มีความหมายตรงข้ามกับ Binary หมายถึง มายาคติ 2ขั้วเพศ ดังนั้นจึงหมายถึงสำนึกทางเพศของบุคคลที่ไม่ได้เกาะอยู่กับขั้วเพศหญิง-ชายตลอดเวลา โดยปัจจุบันบุคคลที่ระบุตัวตนว่าเป็นนอน-ไบนารี่ส่วนมากในฝั่งตะวันตก ยังจะจำกัดสรรพนามแทนตนด้วยว่าเป็น They หรือ Them แทนสรรพนามระบุเพศทั่วไป

     (C) ย่อมาจาก Cis Gender หรือบุคคลที่ระบุเพศสภาวะของตนเองตรงกับเพศโดยกำเนิด อีกทั้งยังมี Centerosexual ที่หมายถึงบุคคลที่มีแรงดึงดูดต่อบุคคลที่เป็นนอน-ไบนารี่โดยเฉพาะ

Pride month ในช่วงปี 70 เดือน มิถุนายน เกิดจากการลุกขึ้นสู้ ต่อ การเลือกปฏิบัติกับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งการก่อจลาจลครั้งนี้ มีชื่อว่า ” จลาจลสโตนวอลล์ (Stonewall Riots) ” และจากเหตุการณ์นี้ ไม่เพียงแค่เปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ ใน สหรัฐอเมริกา เท่านั้น แต่เป็นจุดชนวน ให้ชาว LGBTQ ทั่วโลก ยืนหยัด ประกาศตัวตนของตัวเอง และ ต่อสู้เพื่อสิทธิ เสรีภาพของตนเอง อย่างภาคภูมิใจ เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ น่าจะคุ้นตากับธงสีรุ้ง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ ของ LGBTQ community แต่จริง ๆ แล้ว ธงนี้ ไม่ใช่แค่ธงเดียว ที่มีความหมายเป็นตัวแทนของชาว LGBTQ+ แต่ยังมีอีกหลายธง ที่เป็นตัวแทน ของแต่ละกลุ่ม แต่ละเพศวิถี เพื่อเป็นการส่งท้าย Pride Month 2021 มาดูกันเถอะว่าเป็นยังไงบ้าง

  • Rainbow Pride Flag

เริ่มจากธงที่คุ้นตากันดี ธงสีรุ้ง เป็นธงที่ใช้ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชุมชน LGBTQ โดยรวม แต่รู้หรือไม่ว่า ก่อนจะมาเป็นธงที่เห็นกันในปัจจุบันนี้ ธงสีรุ้งนี้ เคยมีหน้าตาแบบด้านล่างนี้มาก่อน

เป็นเวอร์ชั่นแรกที่ถูกออกแบบขึ้นในปี 1978 ซึ่งมันก็คือ ธงสีรุ้งเหมือนกันนั่นแหละ แต่มีสีที่แตกต่างออกไปนิดหน่อย โดยแต่ละสี มีความหมายดังนี้

สีชมพู: เพศสีแดง: ชีวิต ส้ม: การรักษา เยียวยา สีเหลือง: แสงแดดสีเขียว: ธรรมชาติ , สีเทอร์ควอยซ์: เวทมนตร์สีฟ้า: ความสามัคคี ไวโอเล็ต: จิตวิญญาณ

ผู้ออกแบบ Gilbert Baker กล่าวว่า ธงสีรุ้งนี้ มีความหมายถึง ทางเลือกที่เลือกอย่างมีสติรู้ตัว เป็นเรื่องธรรมชาติ และ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ นอกจากนี้ สีรุ้ง ก็ยังเป็นสีที่มีหมายถึง “ความหวัง” มาอย่างยาวนานอีกด้วย

แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป ความต้องการต่อธงสีรุ้งนี้มีมากขึ้น และเพื่อที่จะผลิตได้จำนวนมาก ก็มีการตัดบางสีที่หายากออกไป คือสี ชมพู และ เทอร์ควอยซ์

  • Philadelphia’s People of Color Inclusive Flag

มีการเพิ่มสี ดำ และ น้ำตาล เข้าไปในปี 2017 เพื่อเป็นตัวแทนของ ชาว LGBTQ ที่เป็นคนผิวดำ และผิวน้ำตาล เป็นการสนับสนุนคนเหล่านั้น ที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบากมาขึ้นไปกว่าธรรมดา

  • “Progress” Pride Flag

ในปี 2018 นั้นเอง มีการออกแบบใหม่อีกครั้ง โดยมี สีน้ำตาลและสีดำ ของเวอร์ชั่นก่อนหน้า และ เพิ่มสีชมพูและฟ้า ของ คนข้ามเพศ หรือ trans gender เข้าไปด้วย 

  • Bisexual Flag

ชมพู (หรือม่วงแดง): แรงดึงดูดของเพศเดียวกัน

สีฟ้า : แรงดึงดูดของเพศตรงข้าม

สีม่วง (ลาเวนเดอร์): เสน่ห์ของทั้งสองเพศ

  • Pansexual Flag

เป็นที่ไม่ชัดเจน ว่าใครเป็นคนสร้างธงนี้ขึ้นมา แต่นับตั้งแต่เริ่มปรากฏบนโลกออนไลน์ ตั้งแต่ปี 2010 แล้วก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของ ความดึงดูดใจ ต่อคนทุกเพศ

  • Polysexual Flag

ต่างจากคนที่เป็น Pansexual คนที่ระบุว่า ตนเองเป็น Polysexual นั้น มักจะชอบคนหลายเพศ แต่ไม่ใช่ทุกเพศ ธงนี้ถูกสร้างขึ้นบน Tumblr ในปี 2012

  • Asexual Flag

สีดำ: แสดงถึงความเป็น Asexual โดยรวม

สีเทา: เป็นตัวแทน ของ asexuality และ demisexuality (demisexuality หมายถึงคนที่ คนที่ไม่ความรู้สึกดึงดูดต่อเรื่องทางเพศ ยกเว้นจะมีสายสัมพันธ์ทางอารมณ์ ที่แข็งแกร่งเท่านั้น)

สีขาว: เป็นตัวแทนของ เพศวิถี

สีม่วง: หมายถึง ความเป็น ชุมชน , community

  • Demisexual Flag

Demisexual เป็นหนึ่งใน สเป็กตรัม ของ Asexual จึงมีสีสันของธง ที่คล้ายกับธงของ Asexual แต่จะมีดีไซน์ ที่ต่างออกไป

  • Lesbian Flag

เป็นธงของชาวหญิงรักหญิง

สีส้มเข้ม: เพศไม่เป็นไปตามข้อกำหนด

ส้มกลาง: อิสรภาพ

สีส้มอ่อนที่สุด: ชุมชน

สีขาว: ความสัมพันธ์ที่ไม่เหมือนใคร ระหว่างผู้หญิง

สีชมพูอ่อนที่สุด: ความสงบและสันติ

ชมพูกลาง: ความรักและเซ็กส์

ชมพูเข้ม: Femininity  หรือ ภาษาไทยก็คือ ความเป็นหญิง

  • Intersex Flag

Intersex เป็น umbrella trem หรือ คำจำกัดความ ที่ให้ความหมายครอบคลุม ถึงบุคคลที่มีร่างกาย หรือ อวัยวะ ที่ไม่ตรงตามการแบ่งเพศ ชาย-หญิง เช่น บางคนมีอวัยวะเพศ ของทั้งสองเพศ หรือบางคนมีการผสมของโครโมโซมเพศ ที่แตกต่างมากกว่านั้น

สีทองหรือเหลือง: เป็นสีที่ได้แรงบันดาลใจจากเรื่องราวที่เล่าโดย Mani Mitchell ชาว Intersex คนหนึ่ง ที่ต้องการที่จะ reclaim คำว่า “hermaphrodite” ซึ่งเป็นคำที่เคยถูกใช้ในการดูถูก ให้กลับกลายมาเป็นคำปกติ

วงกลมสีม่วง: วงกลมหมายถึง การไม่ได้บกพร่อง มีความสมบูรณ์ดี และคน intersex มีสิทธิที่จะตัดสินใจอะไรก็ได้ ในร่างกายของพวกเขา

  • Transgender Flag

หมายถึงคนข้ามเพศ ไม่ว่าจะจากชายข้ามมาเป็นหญิง หรือ หญิงข้ามมาเป็นชาย 

สีฟ้า หมายถึง เพศชาย

สีชมพู หมายถึง เพศหญิง

สีขาว หมายถึง ผู้ที่กำลังจะเปลี่ยนผ่าน ไม่มีเพศ หรือ เป็นกลางทางเพศ

  • Genderqueer Flag

Genderqueer คือ บุคคลที่ คิดว่า ไม่มีความจำเป็น ที่จะต้องทำตัวเป็นไปตาม บรรทัดฐานของสังคม ว่าคนเราควรจะแสดงออกตามเพศกำเนิดของเรา 

ลาเวนเดอร์: แสดงถึง androgyny (ลักษณะการแสดงออก ที่ผสมรวมกัน ระหว่างความเป็นหญิง และ ความเป็นชาย)

สีขาว: แสดงถึง agender (คนที่ไม่ระบุเพศ)

สีเขียว: หมายถึง non-binary

  • Genderfluid Flag

ผู้ที่เป็น Genderfluid จะไม่ระบุว่า ตัวเองเป็นเพศใดเพศหนึ่ง แต่อัตลักษณ์ทางเพศของพวกเขา จะเปลี่ยนไประหว่าง ผู้ชาย ผู้หญิง หรือ เพศอื่น ๆ  ซึ่งความถี่ในการเปลี่ยนแปลง ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

  • Agender Flag

เป็นคนที่ไม่ระบุ ว่าตนเองเป็นเพศใด 

สีขาว-ดำ: แสดงถึงการไม่มีเพศ

สีเทา: กึ่งไร้เพศ

สีเขียว: Non-Binary (Binary คือเพศที่เป็นเป็น 2 อย่าง คือ ชายและหญิง ดังนั้น Non-Binary คือนอกเหนือจากชายหญิง)

  • Aromantic Flag

หมายถึง คนที่ไม่มีความรู้สึกดึงดูด หรือ ดึงดูดน้อย ในเชิงโรแมนติก กับผู้อื่น

  • Non-Binary Flag

คล้ายกับ genderqueer และ genderfluid คือ Non-Binary จะไม่ระบุเพศของตนเอง

ธงนี้ถูกสร้างขึ้นในปี 2014 เพื่อคนที่รู้สึกว่า ธง genderqueer ยังไม่ใช่ธงที่เป็นตัวแทนของพวกเขา เพราะคำว่า queer ในภาษาอังกฤษ ยังเป็นคำที่ใช้ต่อต้าน ชุมชน LGBTQ อยู่ แม้จะมีความพยายาม reclaim ความหมายของคำนี้แล้วก็ตาม

  • Polyamory Flag

คนที่ไม่จำกัดจำนวนคู่ครอง ว่าต้องคบทีละคนเท่านั้น

ดังนั้น สัญลักษณ์ pi ที่เมื่อแปลงเป็นเลขทศนิยมแล้ว จะมีเลขยาวต่อไปได้เรื่อย ๆ จึงเป็นตัวแทนที่ดีของ Polyamory

  • Straight Ally Flag

เป็นการผสมผสานระหว่าง แถบสีขาวดำ และ สีรุ้ง ซึ่งแสดงถึงการเป็นพันธมิตรของชุมชน LGBTQ+ คือไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ แต่สนับสนุน ความหลากหลายทางเพศนั่นเอง

ความสำคัญของ แอลจีบีที (LGBT) ในสังคมไทยและทั่วโลก

กลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอยู่ในสังคมต่างๆ ทุกสมัยจะมีการพูดถึงความปิดกั้นทางเพศ รวมถึงปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนต่างๆ ในประเทศที่มีการยอมรับทางกฎหมาย ก็จะเพิ่มสิทธิพื้นฐานทางสังคม เช่น การแต่งงานระหว่างเพศเดียวกัน การรับสิทธิสวัสดิการในที่ทำงาน หากเรามีความเข้าใจกับกลุ่มเพศที่หลากหลาย ก็จะเปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงออกต่อกันได้อย่างเท่าเทียม

"สมรสเท่าเทียม" มุมมองใหม่ ความรักไม่ใช่เรื่องของหญิง-ชายอีกต่อไป

การหมั้นยังเหมือนเดิม เพิ่มเติม คือ ไม่จำกัดให้ของหมั้นและสินสอด ต้องเป็นหน้าที่ฝ่าย "ชาย" 
การหมั้น คือการ ‘ทำสัญญาว่าจะสมรสตามกฎหมาย’ ต่อไปในวันข้างหน้า ป.พ.พ. ได้วางหลักให้การหมั้นจะทำได้เมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ กรณีที่ยังอายุยังไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ จะต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา ส่วนร่างแก้ไขป.พ.พ. ยึดหลักการเดิม แต่ปรับเปลี่ยนให้ "บุคคลทั้งสองฝ่าย" สามารถทำการหมั้นได้โดยไม่จำกัดเพศ และยังปรับเปลี่ยนถ้อยคำในบทบัญญัติอื่นๆ ที่ใช้คำว่า "ชายหญิง' ให้เป็น "ผู้หมั้นและผู้รับหมั้น"
 
การหมั้นจะสมบูรณ์ได้ต่อเมื่อมีการมอบ "ของหมั้น สำหรับเป็นหลักฐาน ป.พ.พ. เดิมกำหนดให้ฝ่ายชาย ซึ่งหมายถึงตัวชายคู่หมั้นรวมไปถึงบิดามารดาของชายคู่หมั้น ต้องมอบของหมั้นให้แก่ฝ่ายหญิง เมื่อหมั้นแล้วของหมั้นนั้นจะตกเป็นของฝ่ายหญิง สำหรับร่างแก้ไขป.พ.พ.กำหนดให้ ฝ่าย ‘ผู้หมั้น’ ซึ่งหมายถึงตัวผู้หมั้นเองไม่ว่าจะเป็นเพศอะไรก็ตาม รวมไปถึงบิดามารดาของผู้หมั้น ส่งมอบของหมั้นแก่ ‘ผู้รับหมั้น’ ของหมั้นตกเป็นของผู้รับหมั้น โดยเหตุที่ไม่ได้มีถ้อยคำที่จำกัดเพศ ย่อมหมายความว่าคู่หมั้นมีสิทธิที่จะเลือกรับของหมั้นแต่เพียงฝ่ายเดียวก็ได้ เพื่อให้เกิดการหมั้นตามกฎหมาย หรือหากไม่อยากเป็นฝ่ายรับของหมั้นแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่อยากแลกเปลี่ยนของหมั้นกัน ก็สามารถทำได้ 
 
ในกรณีของสินสอด ป.พ.พ.เดิมกำหนดให้ฝ่ายชายมอบสินสอดแก่บิดามารดา เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรสด้วย ส่วนในร่างแก้ไขป.พ.พ.กำหนดให้ผู้หมั้นส่งมอบสินสอดแก่บิดามารดาของผู้รับหมั้นเพื่อตอบแทนการที่ผู้รับหมั้นยอมสมรส ทั้งนี้คู่หมั้นทั้งสองฝ่ายก็สามารถมอบสินสอดให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้ปกครองของอีกฝ่ายได้เช่นเดียวกันกับกรณีของหมั้น
 
ณัฐวุฒิ บัวประทุม มองว่า การที่กฎหมายปัจจุบันกำหนดให้ฝ่ายชายเป็นผู้มอบของหมั้นและสินสอดอาจส่งผลต่อความไม่เท่าเทียมในบ้านจนลามไปสู่ความรุนแรงในครอบครัวได้ เนื่องจากชายอาจรู้สึกว่า ตนมีอำนาจเหนือกว่าหญิงเพราะเป็นผู้ให้ทรัพย์สินแก่ฝ่ายหญิงและครอบครัว จึงต้องแก้ไขกฎหมายเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการรื้อชุดความคิดนี้ออก
 

สมรสเท่าเทียม ปรับอายุขั้นต่ำจาก 17 เป็น 18 ปี
ป.พ.พ.กำหนดให้ชายและหญิงจะทำการสมรสได้เมื่อมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ส่วนร่างแก้ไขป.พ.พ.ได้กำหนดให้ ‘บุคคลทั้งสองฝ่าย’ สามารถทำการสมรสได้ ไม่มีข้อจำกัดในด้านเพศ และปรับอายุขั้นต่ำในการสมรสเป็น 18 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก แต่ก็ยังยึดหลักการเดิมที่หากมีเหตุจำเป็น ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสโดยที่อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดได้ เช่น ฝ่ายหญิงตั้งครรภ์
 
นอกจากนี้ ป.พ.พ. ยังกำหนด ‘ข้อห้าม’ ที่ไม่อาจทำได้ในการสมรส ซึ่งร่างแก้ไขป.พ.พ.ก็ยังคงยึดหลักการเดิมอยู่ คือ
 
หนึ่ง จะสมรสระหว่างที่มีคู่สมรสอยู่แล้วไม่ได้ หรือการห้ามสมรสซ้อน
 
สอง จะสมรสกับบุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถไม่ได้
 
สาม จะสมรสระหว่างญาติสืบสายโลหิตขึ้นไปหรือลงมา พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกันไม่ได้ โดยพิจารณาความเป็นญาติในทางข้อเท็จจริงเป็นสำคัญ
 

ทรัพย์สินระหว่าง ‘คู่สมรส’ ยังเหมือนเดิม รับมรดกของคู่รักได้
ในร่างแก้ไขป.พ.พ.กำหนดให้มีการแก้ไขชื่อหมวด 3 และหมวด 4 จาก ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา และทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา เป็นความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรส และทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส
 
สำหรับหลักการแบ่งปันทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส ร่างแก้ไขป.พ.พ. ยังคงยึดหลักการเดิมตามป.พ.พ. กำหนดให้คู่สมรสทั้งสองฝ่ายไม่ว่าเพศใดต้องอยู่กินกันฉันคู่สมรส มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน ดังนั้นคู่สมรสจะแกล้งจดทะเบียนสมรสกันเพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์อื่นตามกฎหมายแต่ไม่ได้มีเจตนาจะอยู่กินกันไม่ได้
 
ส่วนทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสนั้น แบ่งออกได้เป็นสินส่วนตัวและสินสมรส สำหรับสินส่วนตัวนั้นคู่สมรสสามารถใช้สอยได้โดยไม่ต้องอาศัยความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่าย แต่ในกรณีของสินสมรสนั้น การจัดการสินสมรสที่อาจทำให้เสียประโยชน์ในทรัพย์สินบางกรณีต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งก่อน เช่น การขาย ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนองอสังหาริมทรัพย์ ให้กู้ยืมเงิน เป็นต้น
 
ในส่วนของการรับมรดก เนื่องจากป.พ.พ.ยังรับรองสิทธิในการก่อตั้งครอบครัวเฉพาะชายและหญิง ทำให้ที่ผ่านมาผู้ที่ไม่ใช่ชายและหญิงตามนิยามของกฎหมาย แม้จะอยู่กินกันฉันคู่สมรสก็ไม่อาจได้รับมรดกของอีกฝ่ายได้ หากคู่รักของตนเสียชีวิตและไม่ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินไว้ให้ แต่ร่างแก้ไขป.พ.พ.ไม่ได้จำกัดกรอบเพศไว้ ดังนั้นคู่สมรสไม่ว่าเพศใดย่อมมีสิทธิในการรับมรดกจากคู่สมรสอีกฝ่ายเมื่ออีกฝ่ายเสียชีวิต แม้ว่าอีกฝ่ายจะไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ก็ตาม
 

รับบุตรบุญธรรมได้ ครอบครัวสมัยใหม่ที่ไม่จำกัดบทบาทใต้กรอบเพศ
ในป.พ.พ.ได้รับรองสิทธิในการรับบุตรบุญธรรมสำหรับคู่สมรสชายหญิงไว้อยู่แล้ว ส่วนในร่างพ.ร.บ.แก้ไขป.พ.พ.นั้น ได้กำหนดบทบัญญัติมาตรา 1598/42 เพิ่มเข้ามา ให้คู่สมรสผู้มีความหลากหลายทางเพศสามารถรับบุตรบุญธรรมร่วมกันได้ และให้มีความสัมพันธ์ สิทธิ หน้าที่ต่อบุตรบุญธรรมเสมือนความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาและบุตรตามที่ป.พ.พ.ได้รับรอง
 
สำหรับการมีบุตรโดยอาศัยเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์หรือการอุ้มบุญนั้น ได้มีกฎหมายเฉพาะ คือ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558หรือพ.ร.บ.อุ้มบุญ ซึ่งยังจำกัดให้คู่สามีภริยาที่ภริยาไม่อาจตั้งครรภ์ได้เท่านั้นที่จะให้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทนได้ หมายความว่า แม้ในกรณีของคู่สมรสชายหญิงก็ไม่ใช่ทุกคู่ที่จะมีลูกโดยการอุ้มบุญได้ หากฝ่ายหญิงมีสุขภาพแข็งแรงสามารถตั้งครรภ์ได้ ก็ไม่สามารถมีบุตรด้วยวิธีการอุ้มบุญได้ 
 
ในประเด็นการอุ้มบุญ ณัฐวุฒิ บัวประทุม ได้แสดงความคิดเห็นว่า การแก้ไขป.พ.พ.จะเป็นหมุดหมายสำคัญที่ทำให้มีการแก้ไขพ.ร.บ.อุ้มบุญต่อไป เพื่อตอบสนองต่อ 'ความเป็นครอบครัว' ที่ไม่ได้ยึดติดอยู่ในกรอบทางเพศ เพราะบุคคลไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็สามารถเป็นบุพการีและเป็นแบบอย่าง (Role Model) ให้แก่บุตรของเขาได้
 

สิทธิที่คู่สมรสทุกเพศจะได้หากแก้ไขป.พ.พ.สำเร็จ
การแก้ไขป.พ.พ.จะทำให้คู่สมรสทุกเพศมีโอกาสในการเข้าถึงสิทธิประโยชน์หรือสวัสดิการของรัฐที่เป็นของ 'คู่สมรส' ได้ เช่น การรับประโยชน์ทดแทนผู้ประกันตนตามพ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 สิทธิเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของข้าราชการ ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 และในบางกรณีแม้กฎหมายใช้ถ้อยคำจำกัดเฉพาะ ‘สามี-ภริยา’ คู่สมรสที่รับบุตรบุญธรรมก็ยังสามารถใช้สิทธิประโยชน์นั้นได้ เช่น สิทธิในการลดหย่อนภาษีบุตรบุญธรรมตามประมวลรัษฎากร

อย่างไรก็ดี ในกรณีที่กฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรับรองสิทธิประโยชน์และสวัสดิการของรัฐซึ่งใช้คำว่า 'สามี-ภริยา' ณัฐวุฒิ บัวประทุม แสดงความคิดเห็นว่า การแก้ไขป.พ.พ.จะเป็นหมุดหมายสำคัญที่จะทำให้ต้องไปปรับแก้ถ้อยคำในกฎหมายอื่นๆ ด้วยในภายหลัง เพื่อรับรองสิทธิในการเข้าถึงสิทธิประโยชย์และสวัสดิการของรัฐแก่คู่สมรสทุกเพศอย่างเท่าเทียม

กลุ่มภาคีสีรุ้งเพื่อการสมรสเท่าเทียม เปิดแคมเปญให้เข้าชื่อเพื่อนำเสนอร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมภาคประชาชน โดยตั้งเป้า 1 ล้านรายชื่อ ผ่าน www.support1448.org


เพราะความหลากหลายเป็นเรื่องสวยงาม ชวนอ่าน 9 หนังสือที่เล่าเรื่องความหลากหลายทางเพศ

ในเดือนแห่งความหลากหลายทางเพศหรือ Pride month นั้น สิ่งสำคัญที่เรายังต้องสื่อสารกันอยู่เสมอคือ มันไม่เป็นไรนะ หากรู้สึกว่าเรามีอัตลักษณ์ทางเพศที่หลากหลายและไม่อยู่ในกรอบที่สังคมคาดหวัง และสิ่งสำคัญคือสังคมต้องตระหนักและเรียนรู้เรื่องเหล่านี้ เพราะยังมีประเด็นที่ยังคงต้องพูดถึงและผลักดันคือเราต้องทำให้ความเหลื่อมล้ำทางเพศนั้นหายไป

การทำความเข้าในความหลากหลายทางเพศนั้นก็มีหลากหลายวิธี แต่หนึ่งในนั้นที่อาจช่วยให้ทุกคนเข้าใจความรู้สึกหรือวิธีคิดเรื่องเหล่านี้คือการกลับไปอ่านหนังสือที่เล่าถึงความหลากหลายทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นนวนิยายหรือสารคดี เราจึงอยากแนะนำหนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวความหลากหลายทางเพศให้ได้อ่านกัน เพื่อที่จะได้เข้าใจความรู้สึกของกลุ่ม LGBTQ และช่วยกันเป็นกระบอกเสียงให้พวกเขามากขึ้น


Carol (The Price of Salt) โดย Patricia Highsmith

เรื่องราวความสัมพันธ์ของผู้หญิงสองคนที่ต่างฝ่ายต่างรู้สึกโดดเดี่ยว ซึ่งอายุของตัวละครนั้นต่างกันอย่างมากที่ช่วยให้เห็นว่าไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ก็พบเจอกับความกังวลใจเหล่านี้เสมอ นอกจากนี้ยังมีประเด็นนั้นการตามหาอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเองจนเจอ

ซึ่งปมของเรื่องก็พาเราดราม่าไปมากกว่านั้น เมื่อเรื่องราวนี้กลายเป็นความรักต้องห้ามในยุคสมัยที่การรักเพศเดียวกันเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ซึ่งนอกจากประเด็น LGBTQ แล้ว หนังสือเล่มนี้ยังพาเราไปวิพากษ์โครงสร้างชายเป็นใหญ่ที่เป็นปัญหาครอบเรื่องความเหลื่อมล้ำทางเพศอีกด้วย

 

แด่การผลัดทิ้งซึ่งหญิงชาย แด่ความลื่นไหลที่ผลิบาน (Beyond the Gender Binary) โดย Alok Vaid-Menon

หนังสือ non-fiction ที่เป็นเหมือนบันทึกความทรงจำควบคู่ไปกับการบอกเล่าความเข้าใจเกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางเพศแบบ 101 ซึ่งจะช่วยให้เรามองเห็นว่าเพศไม่จำเป็นต้องจำกัดแค่ชายหรือหญิง และการแสดงออก เสื้อผ้า หน้าผม ท่าทาง วิถีชีวิตของเรา ก็ไม่จำเป็นต้องตรงกับเพศสภาพและเพศวิถี 

โดยหนังสือเล่มนี้ยังได้รวบรวมคำโต้แย้งที่บางคนใช้เพื่อโจมตีอัตลักษณ์อันหลากหลาย ซึ่งจะช่วยให้คนที่กำลังเรียนรู้เรื่องเหล่านี้ได้เข้าใจความหลากหลายยทางเพศมากขึ้น


Autoboyography โดย Christina Lauren

นวนิยาย coming of age ที่มีพล็อตน่าสนใจ เพราะจับรวมทุกจารีตเข้ามาตั้งคำถาม ทั้งความสัมพันธ์ของครูนักเรียน ความสัมพันธ์ของคู่รักเกย์ภายใต้ครอบครัวที่เคร่งศาสนาซึ่งกีดกัน LGBTQ

ซึ่งเนื้อเรื่องเป็นการเล่าเรื่องแบบ Young adult แต่ก็อัดแน่นกับการตั้งประเด็นซีเรียสจริงจังโดยเฉพาะเรื่องของศาสนากับ LGBTQ ที่จะทำให้เรามองเห็นว่าครอบครัวและ ally ของกลุ่มหลากหลายทางเพศนั้นสำคัญและเป็นพลังให้กันและกันมากแค่ไหน

 

ออกแบบเพื่อเท่าเทียม: ‘สะกิด‘ กรอบคิดเรื่องเพศด้วยเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม โดย Iris Bohnet

เพราะความเท่าเทียมทางเพศเกิดขึ้นได้หากเราออกแบบให้ทุกคนเท่าเทียม

โดยนักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม Iris Bohnet พาเราไปดูตั้งแต่อคติทางเพศที่อยู่ในทุกการออกแบบ ทุกวิธีการในที่ทำงาน ที่กีดกันความเท่าเทียมทางเพศ และเขาไม่เพียงจะชี้ให้เห็นความผิดปกติเท่านั้น แต้่ยังเสนอวิธีลดความเหลื่อมล้ำทางเพศอีกด้วย

 

แว่นตากรอบทอง (Gli occhiali d’oro) โดย Giorgio Bassani

นวนิยายเล่มบางที่เต็มไปด้วยความรู้สึกอันเปี่ยมล้นนี้พาเราไปรู้จักกับชายหนุ่มสองคน ที่คนหนึ่งเป็นชาวยิว และอีกคนเป็น Homosexual ซึ่งทั้งสองคนอยู่ในอิตาลี ในยุคสมัยที่มุสโสลินี ต่อต้านยิวอย่างรุนแรง และการรักร่วมเพศยังเป็นเรื่องต้องห้าม

ซึ่งนวนิยายเล่มนี้ทำให้เราได้สัมผัสความรู้สึกของการถูกเหยียด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเชื้อชาติ หรือเพศสภาพ ที่ทำให้เราเข้าใจลึกซึ้งถึงความรู้สึกของการเป็นคนชายขอบในสังคม

 

Love Simon : อีเมลลับฉบับไซมอน โดย Becky Albertalli

หลายคนอาจคุ้นเคยกับ Love, Simon จากภาพยนตร์ แต่ในหนังสือเองก็สนุกและมีรายละเอียดให้น่าติดตามเช่นกัน

โดยเป็นเรื่องเล่าของวัยรุ่นคนนึงที่กลัวกับการ come out ในสังคมที่การแสดงออกว่าเป็นเกย์ จะถูกคาดหวังให้ต้องเป็นตัวตลก ตัวสร้างสีสัน ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น คุณก็จะถูกผลักออกจากสังคม ถูกกลั่นแกล้ง ไม่กลายเป็นส่วนหนึ่งของที่ไหน ซึ่งเรื่องนี้ชวนให้เราสัมผัสและรับรู้ถึงความเจ็บปวดของวัยรุ่นที่ยังไม่แน่ใจเรื่องอัตลักษณ์และเต็มไปด้วยความกังวลหากไม่ถูกยอมรับในสังคม

และตั้งคำถามว่าทำไม ชายหญิง ถึงกลายเป็นค่าตั้งต้น แล้วต้องซัฟเฟอร์เมื่อเติบโตขึ้นแล้วพบอัตลักษณ์ตัวเองไม่ใช่ตามที่คนบอก กลับต้องมากังวลว่าต้องพูดออกไปมั้ย แล้วจะเกิดผลอย่างไร ทำไม LGBTQ ถึงต้อง come out แต่ชายหญิงไม่เคยเจอกับความรู้สึกนี้

 

Less โดย Andrew Sean Greer

เรื่องช้ำรักของ Arthur Less นักเขียนชายวัย 49 ที่พยายามหลีกหนีงานแต่งงานของแฟนเก่าซึ่งเป็นชายหนุ่มที่คบหากันมากว่า 9 ปี แต่ได้เลิกรากันไป โดยหนังเล่มนี้พาเราเดินทางเหมือนนั่งเครื่องบินในเก้าอี้ข้างๆ เลส คอยลอบสังเกตความเป็นไปของเขา

นอกจากเรื่องการบอกเล่ามุมมอง วัฒนธรรมต่างๆ สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือการตั้งคำถามต่ออัตลักษณ์ของเพศที่สังคมคาดว่าว่าหากเรา come out แล้ว เราต้องมีอัตลักษณ์ นิสัย หรือท่าทางตามที่สังคมคิด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นนวนิยายเล่มนี้อาจจะไม่ได้บอกกับเราอย่างตรงไปตรงมาเสียทีเดียว แต่ก็ชวนเราตั้งคำถามถึงการเมืองเรื่องเพศได้เป็นอย่างดี

 

เมื่อวานเจ๊ทานอะไร? (Kinou Nani Tabeta?) โดย Fumi Yoshinaga

มังงะที่เล่าเรื่องของเกย์ในสังคมญี่ปุ่น โดยออกแบบตัวละครให้เป็นเกย์ในอัตลักษณ์ที่ต่างกัน คนหนึ่งเคร่งขรึม ต้องคอยปกปิดตัวเองเมื่อไปทำงาน อีกคนแสดงออกชัดเจนถึงอัตลักษณ์และเพศสภาพของตัวเอง แต่ทั้งสองคนกลับพบเจอการกีดกันจากสังคมเหมือนกัน 

เรื่องนี้ชวนเราไปเข้าใจสังคมญี่ปุ่นกับกลุ่ม LGBTQ ที่มักถูกมองเป็นคนนอก เป็นชายขอบในสังคม และต้องคอยปกปิดไว้เพื่อไม่ให้ดูแตกต่างไปจากสังคม จนนำไปสู่ความเจ็บปวดและความซัฟเฟอร์ต่างๆ ภายในคู่รักกันเองและตั้งคำถามว่าทำไมความรักของ LGBTQ ถึงเป็นเรื่องผิดมากนัก?

 

Call Me by Your Name โดย André Aciman

นวนิยาย coming of age ที่ดังถล่มทลาย ซึ่งพาเราไปรู้จักกับความรักของชายหนุ่มสองคนที่อายุต่างกัน โดยจุดเด่นของเรื่องนี้คือการพรรณาความรู้สึกของตัวละครที่มีต่อความรักในครั้งนี้ รวมถึงตั้งคำถามกับความรู้สึกของตัวเอง ความรู้สึกไม่แน่ใจ ความรู้สึกลังเล ก่อนจะค้นพบว่าเมื่อรักแล้ว เพศสภาพไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวล 

นวนิยายเรื่องนี้จึงเหมือนเป็นเพื่อนกับวัยรุ่นหลายคนที่อาจจะยังไม่เข้าใจตัวเอง ไม่แน่ใจกับเพศสภาพ ตั้งคำถามกับอัตลักษณ์ของตัวเอง และร่วมค้นพบไปพร้อมกัน

คลิปวิดีโอเพิ่มเติม เกี่ยวกับlgbt




งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

data for computer project : lgbtq

LGBTQ นั้นเป็นคำศัพท์แรกที่ถูกใช้กันมาตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 1990s (ก่อนที่ต่อมาจะมีการเพิ่มตัวอักษรไปตามความลื่นไหลทางเพศของยุคสมัยที่เพิ่มขึ...